Loading...
เมนู
OSAKA INFOToppage
เกี่ยวกับโอซาก้า
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโอซาก้า
กีฬาในโอซาก้า
วัฒนธรรมป๊อปในโอซาก้า
เหตุการณ์
กำหนดการเดินทาง
สำหรับนักเดินทางมือใหม่
เพลิดเพลินกับสถาปัตยกรรม・ศิลปะ
สำรวจประวัติศาสตร์!
เพลิดเพลินกับธรรมชาติและภูมิทัศน์
ท่องเที่ยวด้วยรถไฟ
สถานที่ท่องเที่ยวและประสบการณ์
กีฬาและสันทนาการ
นักกินและดื่ม
ประสบการณ์ตรง
ช้อปปิ้ง
ธรรมชาติ
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
ประสบการณ์ตามฤดูกาลและสถานที่ท่องเที่ยว
จุดเด่น
PICK UP
การผลิตในโอซาก้า
จุดแนะนำ
ค้นพบ!
ข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
หนังสือเดินทาง
ข้อมูลท่องเที่ยว
ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว
โรงแรม
เข้าไป
แผนที่พื้นที่และดาวน์โหลดคู่มือ

เกี่ยวกับโอซาก้า

แนะนำภาษาถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของโอซาก้า

"แม้ว่าภาษาญี่ปุ่นที่พูดกันทั่วไปในโตเกียวนั้นเป็น "ภาษากลาง" ที่ใช้กันทั่วประเทศ แต่ในญี่ปุุ่นก็มีภาษาถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ "ภาษาถิ่นโอซาก้า" ซึ่งมีคำและวลีที่ใช้เฉพาะในเขตคันไซ"

โอคินิ (Ookini)

"โอคินิ" มีความหมายว่า "Thank you (ขอบคุณ)" ในภาษาอังกฤษ หรือ "อาริกาโตะ" ในภาษากลาง เป็นคำที่ใช้ได้หลายความหมายในภาษาถิ่นโอซาก้า เมื่อเรียนรู้แล้วก็ใช้ได้ง่าย ถ้าใส่

"โอคินิ" ในตอนท้ายของการสนทนาเพื่อช่วยให้ความสัมพันธ์กับอีกฝ่ายลื่นไหลมากยิ่งขึ้น ในที่นี้ก็จะใกล้เคียงกับคำว่า "Thank you (ขอบคุณ)" หรือ "Please (โปรด)" ในภาษาอังกฤษ เดิมที "โอคินิ" เป็น คำที่แสดงถึงปริมาณที่มาก เช่น "โอคินิ อาริกาโตะ (ขอบคุณมาก)" "โอคินะ โกะคุโรซัง (ขอบคุณมากที่ทำงานหนัก)" แต่ภายหลังถูกย่อจะเหลือแค่คำเดียว เนื่องจากเป็นคำที่แสดงความรู้สึกขอบคุณ จึงเป็นคำพูดส่งแขกที่ใช้อยู่ทุกวันของร้านอาหารในโอซาก้า หรือใช้ขอบคุณแบบเป็นกันเองเวลาเพื่อนเลี้ยงอาหารว่า "โอคินิ โกะจิโซซัง (ขอบคุณสำหรับอาหาร)" ส่วน "โอคินิ สุนมะเฮน (ขอโทษ)" ใช้ในการขอให้อีกฝ่ายอภัยให้ ทั้งยังมีที่ใช้ในธุรกิจว่า "โอคินิ คังคาเอโทคิมัส (จะลองนำกลับไปคิดดู)" ซึ่งก็เป็นการตอบปฏิเสธนัยๆว่า "พอแล้ว" อย่างนุ่มนวล ควรระวังอย่าเข้าใจผิด

นัมโบะ (Nambo)

โอซาก้ามีประวัติเป็นศูนย์กลางการค้าของญี่ปุ่นนานหลายร้อยปี ดังนั้นในโอซาก้าจึงมีวลีที่ใช้เจรจาต่อรองโดยเฉพาะ "นัมโบ" ในภาษามาตราฐานคือ "โออิคุระเดสกะ? (ราคาเท่าไหร่ครับ/คะ?)" โดยผู้ที่มาซื้อของจะหยิบสินค้าขึ้นมาและถามคนขายว่า "โจตโตะ โคเระนัมโบ? (ขอโทษนะครับ/คะ อันนี้ราคาเท่าไหร่?)" (โดยเน้นเสียงไปที่โบ) ฉากที่มักเห็นเวลาลูกค้าต่อราคากับคุณลุงเจ้าของร้านในย่านค้าท้องถิ่นก็คือ "โอทจัง โคเระนัมโบะ นิชิเเทะคุเรรุ้น? (คุณลุง อันนี้ให้ราคาเท่าไหร่ครับ/คะ?)"

ชาไน (Shaa-nai)

วลีนี้เป็คำพูดที่มีนัยว่า ผลที่คาดไม่ถึง หากผู้ใหญ่ที่ผ่านช่วงเวลาชีวิตที่หวานและเปรี้ยวใช้ จะหมายถึงชีวิตมีรสชาติในหลายความหมาย แต่ที่ใช้โดยทั่วไปคือ สถานการณ์ไปในแนวที่ตนไม่คาดคิด เช่น "ช่วยไม่ได้", "ทำอะไรไม่ได้" เมื่อพูดว่า "โซวกะ โซเระ ชาไน นา" ก็หมายความว่า "ยอมแพ้แล้ว" หรือ "เข้าใจแล้ว ชีวิตก็อย่างนี้" คำนี้เป็นคำที่ตีความหมายเป็นภาษากลางได้ยาก คำที่ความหมายใกล้เคียงก็คือ วลีชื่อดังของสเปน "Que Sera Sera" สู่วันพรุ่งนี้ด้วยความรู้สึกที่มุ่งมั่น ไม่ต้องกังวลกับสิ่งที่ทำไม่ได้ในวันนี้ เป็นหลักมองด้วยเหตุผลของแบบโอซาก้าที่เหมือนภาษาลาตินแต่คำว่า "ชาไน" สำหรับคนโอซาก้าแล้ว สามารถใช้ในความหมายที่ไม่พอใจได้ด้วย เช่น ไม่ว่าจะผลออกมาไม่ถูกใจ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ คนโอซาก้าจะพูด "ชาไน!" แสดงออกถึงการไม่ยอมรับสิ่งนั้น เป็นคำที่แสดงถึงความเข้มแข็งของคนโอซาก้า

โบจิโบจิ (Bochi-bochi)

คำทักทายที่ขึ้นชื่อของคนโอซาก้าคือ "โมวคาริมัคคะ?", "โบจิโบจิเดนนะ" โดย "โมวคาริมัคคะ?" แปลตรงตัวก็คือ "ทำเงินได้มากไหม?" ซึ่งเป็นวลีที่มาจากหัวใจแบบพ่อค้าของชาวโอซาก้า เป็นคำทักทายเป็นกันเองทั่วไปแบบ "โดโมะ (สวัสดี)" หรือ "คอนนิจิวะ (สวัสดี)" ไม่ได้ต้องการจะถามสภาวะการเงินของอีกฝ่ายจริงๆ และจะตอบด้วย "โบจิโบจิเดนนะ"

"โบจิโบจิ" ในภาษากลางคือ "โบสึโบสึ" ที่มีความหมายว่า กลางๆ ไม่ได้ดีหรือแย่เป็นพิเศษ คำที่ใช้พูดกับเพื่อนฝูง แม้จะสั้นและห้วนบ้างแต่ก็ไม่เป็นไร ซึ่งนี่ก็เป็นคำพูดที่แสดงถึงบุคลิคคนโอซาก้าที่ Take It easy เป็นดีที่สุด

นอกจากนี้เวลากลับบ้าน คนโอซาก้ายังพูดว่า "โบจิโบจิคาเอโร่กะ" ซึ่งหมายความว่า "ได้เวลากลับบ้านแล้วล่ะ" และในรูปแบบเดียวกันคือ "โบจิโบจิอิโค่กะ (ได้เวลาไปกันได้แล้วล่ะ)" เป็นคำเชิญชวนให้ทำค่อยเป็นค่อยไป ไม่ทำลายจังหวะผู้อื่น

ไมโดะ (Maido)

คำทักทายที่คุ้นเคยของพ่อค้าโอซาก้า เป็นคำทักทายแรกเริ่มที่เซลล์แมน หรือ นักธุรกิจ และพ่อค้าใช้ทักทายลูกค้า เป็นคำที่ย่อจาก "ไมโดะอาริกาโตโกะไซมัส (ขอบคุณสำหรับทุกๆครั้ง)" หรือ "ไมโดะโอเซวะนินัตเตะโอริมัส (ขอบคุณที่อนุเคราะห์เสมอมา)" คำนี้ไม่เพียงใช้เฉพาะเวลาพบกับลูกค้า ยังมีการใช้เป็นคำทักในโทรศัพท์ ว่า "ไมโดะไมโดะ" แทนฮัลโหล โดยพื้นฐาน "ไมโดะ" เป็นคำที่ผู้ชายใช้ แต่ก็มีที่พนักงานขายหญิงในร้านขายผัก, ขายปลา, ขายเนื้อและอื่นๆใช้ "ไมโดะ!" ทักทายลูกค้าประจำให้เห็นเช่นกัน

Back
Back