Loading...
เมนู
OSAKA INFOToppage
เกี่ยวกับโอซาก้า
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโอซาก้า
กีฬาในโอซาก้า
วัฒนธรรมป๊อปในโอซาก้า
เหตุการณ์
กำหนดการเดินทาง
สำหรับนักเดินทางมือใหม่
เพลิดเพลินกับสถาปัตยกรรม・ศิลปะ
สำรวจประวัติศาสตร์!
เพลิดเพลินกับธรรมชาติและภูมิทัศน์
ท่องเที่ยวด้วยรถไฟ
สถานที่ท่องเที่ยวและประสบการณ์
กีฬาและสันทนาการ
นักกินและดื่ม
ประสบการณ์ตรง
ช้อปปิ้ง
ธรรมชาติ
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
ประสบการณ์ตามฤดูกาลและสถานที่ท่องเที่ยว
จุดเด่น
PICK UP
การผลิตในโอซาก้า
จุดแนะนำ
ค้นพบ!
ข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
หนังสือเดินทาง
ข้อมูลท่องเที่ยว
ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว
โรงแรม
เข้าไป
แผนที่พื้นที่และดาวน์โหลดคู่มือ
จุดเด่น

Suntory Whisky

นี่คือการผลิตของโอซาก้า

เกริ่นนำ

โอซาก้าเป็นที่ซึ่งรุ่งเรืองด้วย "การผลิต" มีของที่คาดไม่ถึงมากมาย "เกิดที่โอซาก้า" อย่างเช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือแกงกะหรี่ซองที่ทุกคนรู้จัก ของเหล่านี้มาจากโอซาก้า รวมทั้งทีวีและวิทยุอีกด้วย หรืออย่างในปัจจุบัน ทั้งหุ่นยนต์ไปจนถึงเทคโนโลยีชีวภาพ ของหลากหลายแขนงก็เกิดขึ้นทุกๆวัน Made in Osaka ที่โอซาก้าแนะนำในแง่ "การผลิต" โดยธีมในคราวนี้คือ "Suntory" ผู้ผลิตเครื่องดื่มดับกระหายที่ทุกคนดื่มกันทุกวัน

ในปี 1899 Torii Shinjiro ก่อตั้ง Suntory ขึ้นที่ 2-chome, Utsubochu-dori, Nishi-ku, Osaka-shi ด้วยความฝันเกี่ยวกับสุราตะวันตก หลังจากนั้น Suntory ก็ดำเนินการอยู่ในโอซาก้า และมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่ไวน์, วิสกี้, เบียร์ เท่านั้น แต่ยังมี ชา, น้ำผลไม้, เครื่องดื่มสุขภาพ และอาหารสุขภาพด้วย อีกทั้งยังเป็นผู้สนับสนุนด้านวัฒนธรรม และกิจกรรมทางสังคมอย่างแข็งขัน ทั้งด้านศิลปะและดนตรี คราวนี้เรามาดูจุดกำเนิด "การผลิตวิสกี้" ของ "Suntory" พร้อมกับศึกษาจิตวิญญาณการผลิตของโอซาก้ากัน

กว่าจะเป็นวิสกี้ - มาชมขั้นตอนการผลิตที่โรงกลั่น Yamazaki

ภายในโรงกลั่น Yamazaki ที่ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของวิสกี้ที่กลั่นในประเทศนั้น สามารถเข้าชมได้ โดยอยู่ใกล้กับสถานี JR Yamazaki Sta. โดยเดินทางด้วยรถไฟจากสถานี Osaka Sta. ไปทาง Kyoto 20 นาที หลังจากนั้นก็เดินไปทางทิศใต้ตามรางรถไฟประมาณ 10 นาที ก็จะมาถึงโรงกลั่น Yamazaki และเนื่องจากมีรูปปั้นหม้อต้มขนาดใหญ่ ่และเป็นอาคารอิฐแดง ทำให้มองเห็นได้จากรถไฟ ไม่มีหลง แม้ในตอนเช้าวันธรรมดา ที่นี่ก็เต็มไปด้วยเด็กและผู้ใหญ่, คู่รัก, นักศึกษา ที่ต่างมายืนเข้าแถวหน้าแผนกต้อนรับ โดยที่แผนกต้อนรับ เราสามารถลงชื่อร่วมชมคอร์สการผลิต โดยจะมีไกด์พาชมและอธิบายโดยละเอียด แต่เพื่อความแน่นอน ก็จองมาก่อนล่วงหน้าได้ ส่วนพิพิธภัณฑ์ และร้านค้าของโรงกลั่น Yamazaki ิสามารถเข้าชมได้อย่างอิสระ

มอลต์และน้ำ - วัตถุดิบของวิสกี้

คอร์สการผลิต เริ่มกันที่ห้องแรก โดยสิ่งแรกที่จะทำคือการ "เตรียม" โดยจะกวนมอลต์ที่บดแล้วเข้ากับน้ำอุณหภูมิ 63℃ ในหม้อขนาดยักษ์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เมตร เมื่อเวลาผ่านไป แป้งในมอลต์ก็จะเปลี่ยนเป็น "น้ำตาล" เราก็จะได้น้ำของมอลต์ออกมา ส่วนน้ำอุ่นที่ใช้ก็เป็นน้ำของเมือง Yamazaki ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ น้ำธรรมชาติของ Yamazaki ที่มีรสชาติดี จะเป็นตัวกำหนด "รสชาติ" ของวิสกี้ ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า "Mother Water"

หัวเชิ้อวิสกี้เสร็จสมบูรณ์

มาต่อกันที่ห้องหมัก ที่นี่จะเต็มไปด้วยถังไม้บาร์เรลสำหรับหมักขนาดใหญ่ตั้งเรียงราย หากลองมองเข้าไป ก็จะเห็นฟองขาวๆบนพื้นผิว นี่คือยีสต์ที่ย่อยน้ำตาล ได้เป็นแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนอุณหภูมิห้องที่อบอ้าวนั้น เกิดจากการหมักนี้เอง และในบางครั้ง ก็อาจจะได้มีเสียงฟองปุดๆด้วย เมื่อผ่านไปได้ 3 วัน ยีสต์จะหยุดทำปฏิกิริยา จากนั้นกรดแลคติคและอื่นๆจากถังไม้จะเริ่มทำให้กลิ่นและรสนั้นเข้มข้นขึ้น ซึ่งจะให้กลิ่นออกเปรี้ยวๆ เมื่อหมักเสร็จ ก็จะได้ "หัวเชื้อวิสกี้" ซึ่งมีแอลกอฮอล์ประมาณ 7%

ปล่อยให้ค่อยๆบ่ม

เดินตามทางเดินแคบๆไปสู่กระบวนการ "กลั่น" ตอนนี้เองจะได้ยินว่า "คนที่แพ้แอลกอฮอล์หรือคนที่รู้สึกไม่ดีขึ้นมา ขอให้แจ้งด้วย" ในห้องเต็มไปด้วยกลิ่นสุรา ผู้ที่มึนเมาจากผักดองหรือสุราเพียงเล็กน้อย ควรระมัดระวัง แต่บรรดาเด็กๆยังเดินกันอย่างแข็งขัน ดังนั้นคนทั่วไปคงไม่เป็นอะไร! ในนี้มีหม้อต้ม 12 หม้อ 6 ประเภท ซึ่งดูเหมือนเครื่องดนตรีทูบาขนาดยักษ์ ที่นี่ "หัวเชื้อวิสกี้" จะถูกกลั่นใน "Pot Still" หม้อทองแดงที่ให้ความร้อนจากด้านล่างเพื่อกลั่นวิสกี้ และในห้องจะมีอุณภูมิที่สูง ที่นี่สามารถเห็นของเหลวใสที่ถูกกลั่นออกมาจากหม้อได้ โดยสิ่งนี้คือวิสกี้ที่เรียกว่า New Pot วิสกี้ใสเหล่านี้จะถูกบรรจุลงในถังแล้ว ปล่อยให้บ่มนานหลายปีอย่างระมัดระวัง จนกลายเป็นสีเหลืองอำพัน

หลับทิ้งไว้จนกว่าจะตื่น

หลังจากนั้น หัวเชื้อวิสกี้ก็จะถูกนำไปยัง "ห้องเก็บ" ซึ่งมีถังเรียงรายในโกดังสลัว "ความร้อน" และ "กลิ่น" ในห้องนี้สงบเย็นอย่างไม่น่าเชื่อ เหล่าวิสกี้จะอยู่ในระหว่างหลับ โดยถังทั้ง 4 แสนใบใน Yamazaki จะมีปีที่ผลิตเขียนเอาไว้ ถังที่บ่มวิสกี้ถังแรกในปี 1924 ก็สามารถเห็นได้ที่นี่ ถ้าได้ลองหาถังที่ตรงกับปีเกิดของคุณ คงประทับใจไม่น้อย ส่วนมุม "ถังมีเจ้าของ" มีไว้เก็บถังที่ได้รับการจองซื้อไปเรียบร้อยแล้ว หากคุณสนใจซื้อก็สนนถังละตั้งแต่ 5 แสนถึง 30 ล้านเยน แล้วคุณล่ะ ต้องการซื้อเป็นแก้ว? เป็นขวด? หรือเป็นถัง?

ในที่สุดก็ถึงเวลาชิม

สุดท้ายเป็นมุมสำหรับชิมที่ทุกคนเฝ้ารอ ให้ลิ้มรสได้ทั้งวิสกี้ผสมน้ำ หรือผสมกับโซดา และยังมีกับแกล้มด้วย โดยสามารถเลือกชิม Yamazaki 12 ปี หรือ Hakushu 12 ปี แน่นอนว่าระวังดื่มมากเกินไป ส่วนผู้ขับรถและเด็กๆ มีน้ำผลไม้ และชาอูหลงให้บริการ

การดูแลคุณภาพของ Suntory

หลังลองชิมแล้ว ก็ไปถามคำถามกับ คุณ Fukushi Osamu ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายควบคุมคุณภาพ

Q: วันนี้มีคนมาชมเป็นจำนวนมากนะครับ
A: ที่โรงกลั่น Yamazaki เรามีผู้คนเข้ามาชมประมาณ 130,000 คนต่อปี ส่วนวันก่อนเราได้รับรางวัล "Visitor Centre of the Year" ที่จัดขึ้นโดยนิตรสารเกี่ยวกับวิสกี้ของประเทศอังกฤษด้วย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของพวกเราที่จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวิสกี้ ผ่านการจัดแสดง, ทัวร์การผลิต และกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ ทั้งตัวสถานที่และพนักงานเองก็ได้รับการประเมินที่สูงด้วย ซึ่งพวกเราก็ดีใจเพราะสิ่งที่เราคิดอยู่ทุกวัน ได้รับการประเมิน

Q: ผืนดิน Yamazaki นั้นพิเศษมากเลยนะครับ
A: ผมคิดว่าไม่ใช่แค่การผลิตวิสกี้ที่ได้ชมไปของทางโรงกลั่น Yamazaki เท่านั้น ตัวธรรมชาติแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์เอง ก็ช่วยให้รู้สึกดีเหมือนกันครับ ที่นี่รู้จักในฐานะพื้นที่ซึ่งมีน้ำที่ขึ้นชื่อ ผมคิดว่าคงได้เห็นบ่อที่อยู่ใกล้กับโรงบ่มแล้ว ทุกเดือนมิถุนายน ในบ่อนั้นจะมีกบพันธุ์ต้นไม้สีเขียววางไข่อยู่ทุกปี ซึ่งกบสงวนเหล่านี้ ต้องอาศัยอยู่ในที่ซึ่งน้ำสะอาดเท่านั้น และเป็นตัวพิสูจน์ของธรรมชาติที่ดีของ Yamazaki ครับ วิสกี้ที่พวกเราทำขึ้นกับถาพแวดล้อมและน้ำที่ดีเช่นนี้ เราจึงให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยทุกๆวันพนักงานจะทำความสะอาดรอบๆ เช่น เก็บขยะ นอกจากนี้ยังไปดูแลต้นไม้บนเขา Tennozan ด้วยครับ

คอร์สชมโรงกลั่น Yamazaki/ ศึกษาประวัติของวิสกี้ในประเทศ

หลังศึกษาการผลิตวิสกี้อย่างลึกซึ้งแล้ว ก็ไปกันต่อที่ห้องจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์วิสกี้ ทำไมประวัติของวิสกี้ในประเทศญี่ปุ่น ถึงเริ่มที่โอซาก้า? มาลองหาคำตอบที่ห้องจัดแสดงกัน!

ที่มาของ Suntory

ที่ห้องจัดแสดงก่อนอื่นจะพบกับรูปสมัยยังหนุ่มของ Torii Shinjiro ประธานรุ่นแรก ในปี 1899 เขาเริ่มทำธุรกิจในโอซาก้า โดยคิดว่า "ต่อจากนี้คือยุคของเหล้าฝรั่ง" แต่ภายหลังได้กลายเป็นคนที่เริ่มผลิตวิสกี้ญี่ปุ่น โดยใช้แนวคิดที่ว่า "ผลิตเหล้าฝรั่งที่ถูกปากคนญี่ปุ่น" โดยสิ่งแรกที่ Shinjiro ทำคือ เหล้าองุ่น ชื่อ "Akadama Port Wine" ในยุคสมัย Meiji ที่วัฒนธรรมชั้นสูงของตะวันตกหลั่งไหลเข้ามา สุราตะวันตก ทั้งไวน์, แชมเปญ, วิสกี้, บรั่นดี เป็นของที่แปลกใหม่ ตัวโปสเตอร์โฆษณาจึงพิมพ์ทั้ง "อร่อย" และ "บำรุง" เป็นต้น และใช้โปสเตอร์รูปถ่ายหญิงสาวเปลือยเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น และด้วยการใช้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์แนวใหม่นี้ ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นทุกปี ตัวโปสเตอร์ที่หญิงสาวน่าดึงดูดถือแก้วไวน์สีแดงนั้น ได้รางวัลที่ 1 ในงาน "World Poster Exhibition" ในเยอรมัน (ปี 1922) โดยการพิมพ์รูปไวน์ให้ได้สีแดงที่ต้องการนั้น ต้องพิมพ์ซ้ำอยู่หลายสิบครั้ง แม้ในปัจจุบันก็ยังดูสวยงาม อยากให้ลองไปดูของจริงกัน ซึ่งในสมัยนั้นผู้หญิงที่โชว์เนื้อหนังช่วงบน ถือเป็นความคิดที่ก้าวหน้ามาก

วิสกี้แรกของญี่ปุ่น "Shirofuda"

ในปี 1923 หลังจากที่ธุรกิจเหล้าองุ่นไปได้สวยแล้ว Shinjiro ก็ไล่ตามความฝันในการทำวิสกี้อย่างมุ่งมั่น เริ่มที่การมองหาพื้นที่ซึ่งมีน้ำเหมาะกับการทำวิสกี้ และก็ได้เลือกที่ Yamazaki ซึ่งเป็นจุดเหมาะสมกับการผลิตวิสกี้ แล้วก็เริ่มสร้างโรงกลั่น จากนั้นในปี 1924 โรงกลั่นยามาซากิก็สร้างเสร็จ จึงได้เริ่มทำวิสกี้ในประเทศขึ้น ซึ่งวิสกี้ต้องพักบ่มอยู่ในถังไม้นานหลายปี

ในสมัยนั้น บรรดาคนท้องถิ่นเห็นแต่การขนข้าวสาลีกับถังเปล่าเข้าไป แต่ไม่มีใครเห็นของที่ทำเสร็จออกมา จึงเกิดเรื่องเล่าลือว่า "ที่นั่นมีสัตว์ประหลาดชื่อ "Usuke" อาศัยอยู่ และกินข้าวสาลีจำนวนมากในแต่ละวัน" จนมาถึงปี 1929 ก็ได้เปิดตัววิสกี้ในประเทศครั้งแรกของญี่ปุ่น ชื่อว่า "Shirofuda" ด้วยเพราะป้ายที่ขวดมีสีขาว โฆษณาในหนังสือพิมพ์ลงไว้ว่า "ตื่นได้แล้ว! ยุคที่ต้องก้มหน้านำเข้าจบแล้ว" วิสกี้ในประเทศแบบใหม่จึงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

"นี่แหละ!" วิสกี้รสชาติดี

ปี 1937 "Suntory วิสกี้ขวดเหลี่ยม" ก็ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงขายอยู่ในขวดทรงสี่เหลี่ยมลายกระดองเต่า โดย Shinjiro ได้อุทานออกมาว่า "นี่แหละ!" จึงกลายเป็นจุดกำเนิดของวิสกี้ "รสชาติดี" แต่แล้วก็เข้าสู่ช่วงสงครามในมหาสมุทรแปซิฟิค แม้วัตถุดิบจะหายาก แต่ที่ Yamazaki ก็ยังคงดำเนินการผลิตวิสกี้ต่อ พอเริ่มมีการทิ้งระเบิดบ่อยครั้งขึ้น จึงได้ทำการฝังถังบ่มวิสกี้เอาไว้ในดิน หรือผิวหน้าของภูเขาเพื่อป้องกัน ซึ่งยังคงมีรูปของโรงกลั่นในสมัยนั้นหลงเหลืออยู่

วิสกี้ที่รอดพ้นจากสงคราม ก็ได้รับการบ่มอย่างเงียบสงบใน Yamazaki วิสกี้แต่ละถังที่รอดจากอันตรายมาได้ กลายเป็นรากฐานของยุควิสกี้บูม ช่วงหลังสงคราม

การกำเนิดของ The Japanese Whisky

ช่วงวิสกี้บูมหลังสงคราม มีโฆษณาที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของยุคนั้นจัดแสดงไว้มากมายภายในพิพิธภัณฑ์ เช่น "วิสกี้อร่อย, ถูก คือ Torys" ไม่ก็ "อยากใช้ชีวิตให้สมกับที่เป็นมนุษย์" หรือ "ดื่ม Torys แล้วไปฮาวายกัน" เป็นยุคสมัยของ ลุง Torys คาแร็คเตอร์ลุงโสด มนุษย์เงินเดือน ชนชั้นกลางค่อนไปต่ำ และขี้ขลาด ถ้าได้ดูโปสเตอร์นั้นแล้ว ก็คงจะเข้าใจถึงสภาพในสมัยนั้นได้เลย

ในปี 1961 นอกจาก Scotch, Irish, Canadian, Burbon แล้ว Suntory Whisky ก็ได้กลายเป็นหนึ่งใน "5 วิสกี้ใหญ่ของโลก" และเป็น "The Japanese Whisky" หนึ่งเดียว ที่ได้รับการอนุมัติจดทะเบียนในอเมริกา ในปัจจุบันโรงกลั่น Yamazaki ก็ยังคงผลิต วิสกี้ท้องถิ่น "รสชาติระดับโลก" โดย Torii Shinjiro ซึ่งได้ชนะรางวัลการแข่งขันสุราในระดับโลกมากมาย

เชิญซื้อของฝาก

ข้างห้องจัดแสดง คือ ห้องสมุดวิสกี้ ซึ่งมีวิสกี้เรียงกันแน่นผนัง ที่นี่แสดงสุราที่ยังไม่ถูกบ่มซึ่งทำขึ้นในโรงกลั่น Yamazaki เมื่อมองดู จะพบทั้งที่เกือบไร้สี ไปจนถึงสีเหลืองอำพันเข้มอย่างเห็นได้ชัด ที่ชั้น 2 ยังมีร้านขายของ จำหน่ายวิสกี้ที่มีเฉพาะในโรงกลั่น, เค้กและคุ้กกี้รสวิสกี้, เบคอนและชีสที่เข้ากับวิสกี้ และอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีเฟอร์นิเจอร์จากถังวิสกี้ ออกแบบสวยงาม จัดแสดงและขายด้วย

ที่เคาน์เตอร์วงกลม บริเวณทางเข้าพิพิธภัณฑ์วิสกี้ มีวิสกี้หลากหลายแบบให้คนรักการดื่มได้เพลิดเพลิน แม้จะมีค่าใช้จ่าย แต่ราคาก็สมเหตุผล

Back
Back