Loading...
เมนู
OSAKA INFOToppage
เกี่ยวกับโอซาก้า
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโอซาก้า
กีฬาในโอซาก้า
วัฒนธรรมป๊อปในโอซาก้า
เหตุการณ์
กำหนดการเดินทาง
สำหรับนักเดินทางมือใหม่
เพลิดเพลินกับสถาปัตยกรรม・ศิลปะ
สำรวจประวัติศาสตร์!
เพลิดเพลินกับธรรมชาติและภูมิทัศน์
ท่องเที่ยวด้วยรถไฟ
สถานที่ท่องเที่ยวและประสบการณ์
กีฬาและสันทนาการ
นักกินและดื่ม
ประสบการณ์ตรง
ช้อปปิ้ง
ธรรมชาติ
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
ประสบการณ์ตามฤดูกาลและสถานที่ท่องเที่ยว
จุดเด่น
PICK UP
การผลิตในโอซาก้า
จุดแนะนำ
ค้นพบ!
ข้อมูล
คำถามที่พบบ่อย
หนังสือเดินทาง
ข้อมูลท่องเที่ยว
ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว
โรงแรม
เข้าไป
แผนที่พื้นที่และดาวน์โหลดคู่มือ
  • Top
  • จุดเด่น
  • ไม่ว่าจะอดีตหรือปัจจุบัน เทคโนโลยีของ Zojirushi ก็เป็นตัวแทนแห่งความภาคภูมิใจของโอซาก้า
จุดเด่น

ไม่ว่าจะอดีตหรือปัจจุบัน เทคโนโลยีของ Zojirushi ก็เป็นตัวแทนแห่งความภาคภูมิใจของโอซาก้า

หนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกันทุกบ้าน นั่นคือ "กระติกสูญญากาศ" ส่วนแบ่งในการผลิตกระติกสูญญากาศสำหรับญี่ปุ่นแล้วมีปริมาณมหาศาลอยู่ที่โอซาก้า กระติกสูญญากาศที่ทำในประเทศก็เกิดขึ้นที่นี่ จากสมัยก่อนที่โอซาก้าเป็นแหล่งผลิตแก้ว ปัจจุบันก็ได้กลายเป็นแหล่งผลิตกระติกสูญญากาศของญี่ปุ่น

กว่ากระติกสูญญากาศจะถือกำเนิดขึ้นที่โอซาก้า

กระติกสูญญากาศ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dewar หลังจากนั้น Burger ชาวเยอรมัน ก็ประสบความสำเร็จในการทำกระติกสูญญากาศแบบที่ใช้ตามบ้าน กระติกสูญยากาศเข้ามาในญี่ปุ่น ผ่านทางเยอรมันเมื่อปี 1908 หลังจากนั้น กระติกสุญญากาศที่ทำในญี่ปุ่นก็ถือกำเนิดในปี 1912 ในสมัยนั้นโอซาก้าเป็นผู้นำทางอุตสหกรรมแก้ว ย่าน Temma มีช่างแก้วฝีมือดีอยู่มากมาย เน้นไปที่การผลิตหลอดไฟ ซึ่งในการผลิตหลอดไฟนั้น ต้องทำให้เกิดสูญญากาศ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำกระติกสูญญากาศนั่นเอง โอซาก้าจึงเป็นแหล่งผลิตกระติกสูญยากาศแต่นั้นมา

ยุครุ่งเรืองของกระติกสูญญากาศญี่ปุ่น

กระติกสูญญากาศ" เรียกได้ว่าเป็นของที่จำเป็นที่ต้องมีในแต่ละบ้าน แต่สมัยก่อนญี่ปุ่นไม่ได้ใช้กระติกสูญญากาศอย่างแพร่หลาย เมื่อผลิตเสร็จจึงส่งออกเป็นส่วนใหญ่ (นับเป็น 90% ของการผลิตทั้งหมด ในปี 1937) โดยสถานที่ส่งออกหลังคือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คุณภาพน้ำไม่ดีใช้ดื่มไม่ได้ สำหรับชาวตะวันตกจำนวนมากที่มาอาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นอาณานิคมของตะวันตก กระติดสูญญากาศนับว่าเป็นสิ่งจำเป็น แต่ในช่วงสงครามนั้น ไม่มีการนำเข้ากระติกสูญยากาศจากยุโรป ทำให้ชาวตะวันตกที่ได้ยินถึงกระติกสูญญากาศญี่ปุ่น จึงเริ่มทำการนำเข้าจากญี่ปุ่น

จุดเริ่มความคิดของเครื่องหมายการค้า

เพื่อให้นานาประเทศเข้าใจกระติกสูญญากาศญี่ปุ่นได้ง่าย สามารถขายได้อย่างคล่องตัวและต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ปริมาณส่งออกมากที่ขึ้น โดยไม่ติดเรื่องความแตกต่างของภาษาต่างประเทศ ทางบริษัทจึงริเริ่ม "สัญลักษณ์" ที่เข้าใจง่ายว่าสินค้าคืออะไร เป็นของแบบไหน หรือในปัจจุบันก็คือ การทำแบรนด์ดิ้ง ถ้ากระติกสูญญากาศไม่ได้ส่งออก สัญลักษณ์ช้าง Zojirushi บนกระติกสูญญากาศก็คงไม่เกิดขึ้นเป็นแน่

กำเนิดบริษัทกระติกสูญญากาศ Zojirushi

Zojirushi เริ่มขึ้นจาก "บริษัท Ichikawa Brothers Trading" ผู้ผลิตด้านในของกระติกในปี 1918 โดยชื่อบริษัทมาจากพี่น้อง Ichikawa Kinsaburo กับ Ichikawa Ginsaburo โดยน้องชาย Kinsaburo นั้นเป็นช่างผลิตหลอดไฟ ได้ร่วมกับเพื่อนๆทำกระติกด้านในขึ้นมา คนพี่ Ginsaburo ซึ่งทราบว่าน้องมีความสนใจในกระติกสูญญากาศมาก จึงตัดสินใจที่จะผลิตกระติกสูญญากาศ โรงงานเล็กๆนี้ที่ Ginsaburo เป็นผู้ขาย และ Kinsaburo เป็นผู้ทำ คือจุดเริ่มต้นของ Zojirushi โดยในตอนแรกผลิตเฉพาะกระติกใน แต่ภายหลังมีโรงงานประกอบกระติกขึ้นมา จึงตัดสินใจเริ่มผลิตทั้งหมดเพื่อการส่งออก โดยการทำทั้งหมดจำเป็นต้องมีเครื่องหมายทางการค้าตามที่กล่าวข้างต้น จึงได้ "ตราช้างและมงกุฏ" ซึ่งกลายมาเป็นต้นแบบของ "ตราช้าง" ในปัจจุบัน แล้วก็ได้จดทะเบียน "Elephant and Crown" ไว้ แม้สีหน้าและรูปร่างจะต่างไปจากช้างในปัจจุบัน แต่ก็ใช้สัญลักษณ์ช้างที่ทุกคนรู้จักสืบต่อกันมา ส่วนชื่อ เปลี่ยนเป็นบริษัท Kyowa Manufacturing และบริษัท Kyowa Vacuum Bottle จนสุดท้ายเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Zojirushi ในปี 1961

จุดเปลี่ยนของการผลิตกระติกสูญญากาศ

เมื่อเข้าปี 1955 ปริมาณการส่งออกลดลง แต่การขายในประเทศกลับเพิ่มมากขึ้น ถึงอยากจะตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น แต่กระติกด้านในก็ยังคงทำด้วยมือ จึงจำเป็นต้องมีการผลิตแบบอัตโนมัติ แล้วก็ได้เริ่มพัฒนาการผลิตแบบอัตโนมัติของตัวเองขึ้นมา จากความสำเร็จในการพัฒนา ทำให้สามารถทำกระติกด้านในจำนวนมหาศาลได้แต่เพียงผู้เดียว ราคาจึงถูกลงและแพร่หลายมากขึ้น

ความหลากหลายของกระติกสูญญากาศยอดนิยม

การผลิตกระติกสูญญากาศได้หยุดลงในช่วงสงคราม หลังจบสงครามจึงเริ่มกลับมาผลิตอีกครั้ง โดยมีแบบพกพาที่ได้รับความนิยม แต่ภายหลังมีแผนเปลี่ยนเป็นแบบตั้งโต๊ะ และก็ได้เกิด "Hot Pelican" ขึ้นในช่วงนั้นเอง โดยที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะส่วนหัวรูปร่างคล้ายกับปากของนกกระทุง แม้จะได้รับความนิยมกลางๆ แต่ก็มีขายอยู่นานตั้งแต่ปี 1948 - 1956 แต่เนื่องจากการออกแบบของ Hot Pelican เลียนแบบมาจากเหยือกน้ำของตะวันตก ผู้บริหารในสมัยนั้นจึงยึดว่า แม้จะนิยม แต่ทำเลียนแบบออกมานั้นก็ไม่ภาคภูมิใจ

ด้วยความเชื่อที่ว่า "ต่อจากนี้ ยุคดีไซน์ของกระติกสูญญากาศจะมาถึง" จึงได้จัดแข่งขันออกแบบ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องแปลกในสมัยนั้น และก็ได้ "Super Pot" ออกมาในปี 1956 โดยบอดี้ทั้งหมดเป็นพลาสติกซึ่งหายากในสมัยนั้น และด้วยดีไซน์แปลกใหม่ทำให้มีปัญหาต้นทุนการผลิตสูง และไม่เป็นที่นิยม ถึงกระนั้นบริษัทก็คงเชื่อมั่นว่า "จะสร้างสินค้าที่เน้นดีไซน์เป็นเอกลักษณ์" จนในปี 1963 ก็มีผลิตภัณฑ์ยอดนิยม ที่เพียงแค่เอียงกระติกสูญญากาศ น้ำร้อนก็จะไหลโดยอัตโนมัติ "High Pot Z-Model" เกิดขึ้น และจากนี้บริษัท Zojirushi ก็จะออกไปสู่ระดับทั่วโลก

ในปี 1967 กระติกลายดอกไม้ได้รับความนิยมมาก จากโต๊ะรับประทานอาหารเรียบๆ เกิดมีสีสันขึ้นมา จึงได้ใจบรรดาแม่บ้านสุดๆ โดยในช่วงนี้ การผลิตกระติกสูญญากาศของ Zojirushi นั้นกลายเป็นที่ 1 ในญี่ปุ่น ซึ่งถึงแม้ว่าเศรษฐกิจไม่ดี แต่ลายดอกไม้กลับขายได้ และแม้ในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ ยอดขายลายดอกไม้กลับไม่ได้ตกลงเลย จิตวิทยาในการใส่ลายดอกไม้บนกระติก ซึ่งช่วยกระตุ้นให้คนอยากสู้กับปัญหาที่เจอในยามที่โลกซบเซา นับเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งจริงๆ

ในปี 1973 มีการวางจำหน่าย "Air Pot แค่กดปุ่ม" ที่ไม่จำเป็นต้องน้ำยกกระติกขึ้นมาอีกต่อไป เพียงกดน้ำร้อนก็จะไหลออกมา

ภายหลังในปี 1983 เริ่มหันมาเน้นรุ่น "Osudake Pot Mie-ru" ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แม้ปัจจุบัน ปริมาณจะเป็นตัวบ่งชี้ความนิยม แต่บริษัทยังไม่หยุดคิดเกี่ยวกับความสะดวกของผู้บริโภคให้มีมากยิ่งขึ้น จนรู้สึกได้ว่าพวกเขาช่วยทำให้พวกเรามีชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้นับจาก "High Pot Z-Model" รุ่นยอดนิยมที่ขายในปี 1963 ทางบริษัทก็ผลิตสินค้ายอดนิยมออกมาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นรากฐานในความเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม แม้จะเริ่มจากการลอกเลียนแบบกาตั้งโต๊ะ แต่ก็ไม่ได้หยุดยั้งอยู่กับเพียงยอดขาย Zojirushi ยังคงไล่หาดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ จนทำให้ก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับต้นๆของโลกธุรกิจ และการบริหารงานเช่นนี้ก็ยังคงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

จากผู้ผลิตกระติกสูญญากาศสู่ผู้ผลิตที่ครอบคลุมเครื่องใช้ในครัวเรือน

แม้สูญญากาศจะเป็นเทคโนโลยีหลักของ Zojirushi แต่การพัฒนากระติกไฟฟ้านับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญก็ว่าได้ ในตอนนั้น กระติกสูญญากาศแก้วที่ใช้กัน มีความสามารถในการเก็บความร้อนของข้าวต่ำ จึงทำให้ข้าวมีกลิ่นในวันถัดมา และมีข้อด้อยที่เห็นได้ชัดคือแตกหักง่าย จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงความคิดว่า "ใช้ของดี" และเริ่มนำที่เก็บความร้อนด้วยไฟฟ้าเข้ามา การผลิตสินค้าใหม่ของเจ้าใหญ่แห่งวงการเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีเครือข่ายการขายที่แข็งแกร่งอยู่แล้วนั้น เป็นการเสี่ยงครั้งใหญ่ที่จะตัดสินชาตะของ Zojirushi ก็ว่าได้ การตัดสินใจนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น กลายเป็นผู้ผลิตการเก็บความร้อนด้วยสูญญากาศ และเครื่องใช้ในครัวเรือน

สู่ยุคเปลี่ยนแปลง กระติกสูญญากาศน้ำหนักเบา

เดิมทีกระติกด้านในของกระติกสูญญากาศนั้น โดยทั่วไปแล้วเป็นแก้ว และเป็นเรื่องยากที่จะใช้วัสดุอื่นแทน แต่เมื่อยุคสมัยของกระติกสูญญากาศเติบโตขึ้น จึงต้องหาทางพัฒนาสิ่งใหม่ขึ้นมา และได้เริ่มพัฒนา Stainless Thermos ขึ้น แต่มีราคาที่สูงกว่ากระติกแก้วอย่างมาก จึงไม่แพร่หลายในยุคนั้น นอกจากนี้ หากนำกระติกสูญญากาศสแตนเลสออกสู่ตลาด จะเป็นการไปดึงขากระติกสูญญากาศแบบแก้วของบริษัทตัวเอง เมื่อคิดได้ดังนั้นจึงหยุดการพัฒนาไประยะหนึ่ง แต่เมื่อบริษัทอื่นเริ่มทำการขายกระติกสูญญากาศสแตนเลสแล้ว จึงกลับมาพัฒนาต่อ โดยมีแรงขับดันคือ การผลิตสินค้าที่ดียิ่งขึ้น จนในปี 1981 จึงได้ "Stainless Thermos Tough Boy" สำเร็จออกมา และมีการปรับระยะการออกแบบช่อง จากสูญญากาศเดิม 3.5 มม. เป็น 1.1 มม. ซึ่งเล็กและเบากว่าเดิม

การเอากระติกสูญญากาศติดตัวไปด้วยจึงเป็นเรื่องง่าย สามารถลดการทิ้งขวดพลาสติกและถ้วยกระดาษ ซึ่งช่วยลด Co2 ที่เกิดจากการกำจัดของเหล่านั้น ตอบรับกับยุคการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ดี ในยุคสมัยรักษาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน กระติกสูญญากาศจากสแตนเลสจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นอีกจุดสำคัญหนึ่งของผู้ผลิตรายหลัก

ผลิตภัณฑ์ Zojirushi ในต่างประเทศ

กระติกสูญญากาศที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับโลก มีอัตราส่งออกเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับบรรดาสินค้าส่งออกของญี่ปุ่น แม้จำนวนที่ผลิตจะไม่เท่ากับในสมัยที่เน้นส่งออก แต่ที่ประเทศไทยและประเทศในตะวันออกกลาง ยังคงมีความต้องการกระติกสูญญากาศเป็นจำนวนมาก ส่วนที่จีน หม้อหุงข้าวก็เป็นที่นิยมมาก ส่วนที่อเมริกาก็มีกระติกที่ดีไซต์ตรงข้ามกับกระติกสูญญากาศอย่าง Beverage Dispenser AY-AE Model, SY-AA Model ที่มีเอกลักษณ์คือ แค่กดก็มีกาแฟออกมา ทำออกมาในรูปแบบของ Office Coffee Service สำหรับใช้ในออฟฟิศ หรือมุมกาแฟบริการตนเอง ก็เป็นที่แพร่หลาย เทคโนโลยีของญี่ปุ่นนั้น ได้ข้ามทะเลไปเป็นของที่มีประโยชน์ต่อคนทั่วโลก ช่างน่าภาคภูมิใจไม่น้อยเลย

Zojirushi นับจากนี้

จากผู้ผลิตกระติกสูญญากาศไปเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน และในปัจจุบันก็มีการนำเทคโนโลยีสูญญากาศไปร่วมกับสาขาอื่นๆด้วย อย่างใช้ในด้านอุตสหกรรม หรือในด้านพัฒนาทางอวกาศ อาจฟังดูเพี้ยนที่ว่า จากของในบ้านจะไปถึงอวกาศได้ยังไง แต่ก็มีการพัฒนาการผลิตกระติกสูญญากาศเพื่อจะให้สามารถทนทานกับอวกาศภายนอกได้ แล้วกระติกสูญญากาศที่ทนต่ออวกาศภายนอกได้วิเศษขนาดนั้นหรือ?
ผมขอตอบว่าใช่ เพราะมันต้องเป็นกระติกสูญญากาศที่ทนแรง 40G ได้ แล้ว 40G มันแรงขนาดไหนกัน?
ถ้าจะให้เทียบแล้ว เวลาเครื่องบินเจ็ทต่อสู้ต้องร่อนลงเรือบรรทุกเครื่องบิน จะเกิดแรง 7G แล้วต้องทำสิ่งของแบบไหนให้สามารถใช้ได้ในสภาวะแวดล้อมที่รุนแรงเช่นนั้น

นอกจากนั้น ยังร่วมมือกับสาขากีฬา เราเป็นผู้ผลิตกระติกสแตนเลสให้กับ Noguchi Mizuki นักกีฬาที่ได้รับเหรียญเงินจากการแข่งมาราธอนในโอลิมปิคที่เอเธนที่ท่านยังคงจำกันได้ โดยกระติกใส่เครื่องดื่มพกติดตัวไว้กับตัวนักกีฬานี้ เป็นรุ่นที่ผลิตเป็นพิเศษ สามารถเก็บอุณหภูมิ 10℃ ได้ ตัว Noguchi เอง ก็พูดว่า "ฉันได้กระติกนี้ช่วยเอาไว้"
ส่วนในความหนาวเหน็บของฮอกไกโด ที่น้ำกลายเป็นน้ำแข็งหมด เราก็มีส่วนร่วมในการติดตั้งวาล์วน้ำประปาสูญญากาศภายนอก ซึ่งกันความหนาวเย็นได้ ทำให้แม้กลางหน้าหนาว น้ำก็ไม่แข็งตัว

เพลิดเพลินหลังชมหออนุสรณ์กระติกสูญญากาศ

หลังชมหออนุสรณ์กระติกสูญญากาศแล้ว ก็มุ่งหน้าไปยังศาลเจ้า Osaka Tenmangu เพื่อดูอนุสรณ์หินที่เขียนว่า "ดินแดนแหล่งกำเนิดแก้ว"! ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาของกระติกสูญญากาศ! ถ้าไปยังดินแดนแหล่งกำเนิดแก้วแล้ว ก็ไปที่ Osaka Tenmangu กันด้วยนะ ศาลเจ้า Osaka Tenmangu บูชาเทพ Sugawara no Michizane โดยในเดือนกุมภาพันธ์ สามารถเพลิดเพลินกับดอกบ๊วยที่เทพ Michizane ชื่นชอบ เหล่านักเรียนเตรียมสอบ, พนักงานที่เตรียมทดสอบคุณสมบัติ ต่างมาอธิษฐานกับเทพเจ้าแห่งความรู้!!
หลังจบการขอพร ใกล้กับศาลเจ้า Tenmangu ก็มี "Tenman Tenjin Hanjo Tei" สถานที่แสดงของ Kamikata Rakugo แหล่งนักแสดงตลก: เราอาจถูกเชิญชวนเข้าสู่วังวนของความตลกที่โอซาก้าก็เป็นได้?
ส่วนช้อปปิ้งและของฝาก ต้องลอง งาทอง "Wadaman" กันดู ขนมอร่อยที่ใช้น้ำมันจากงาญี่ปุ่นอันมีค่า และงา อร่อยจนทำให้ร้านเล็กๆเต็มไปด้วยผู้คน ขอแนะนำให้ลอง

ถ้ามาที่นี่แล้ว ไม่พูดถึงคงไม่ได้ คือ "ถนนช้อปปิ้ง Tenjinbashi-suji" ย่านอาเขตร้านค้าของที่นี่เป็นเส้นตรง มีความยาวที่ 1 ในญี่ปุ่น รวมร้านค้ามากมายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ทั้งอาหารการกิน หรือจะซื้อของก็ถูก!! แค่ 500 เยน เหรียญเดียวก็ช้อปได้ และยังมีร้านบูติกที่เซลล์ 100 เยน ในช่วงเวลาจำกัดด้วย
ส่วนกูร์เม่ที่มาแรงล่าสุดใน Tenjinbashi-suji คือ ไทยากิ!!
มีร้านที่ขายไทยากิผิวบาง อัดแน่นด้วยไส้ถั่วบดอยู่ทั่วไปหมด ระหว่างช้อปปิ้งก็ถือกินไปด้วยเพลินดี

ตามสุภาษิต "เรียนให้มาก เล่นให้มาก" หลังได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระติกสูญญากาศโดยละเอียดแล้ว ก็เล่นให้หนัก!! ไปเต็มอิ่มกับย่านที่เต็มไปด้วยความสนุก : Tenjinbashi-suji กันเลย!

Back
Back